ทุนวิจัย

             มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีนโยบายส่งเสริมให้บุคลากรมหาวิทยาลัยดำเนินการวิจัยในหลากหลายหัวข้อ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การบริหารหน่วยงาน รวมถึงการนำผลงานวิจัยของบุคลากรถ่ายทอดสู่สังคมเพื่อใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม

ทุนวิจัยแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบรายได้มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ทุนอุดหนุนการวิจัยที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายจากรายได้ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง (งบวิจัยส่วนกลาง การวิจัยประเภทมหาวิทยาลัย)

  • ผู้วิจัยส่งแบบเสนอโครงการไม่ต้องมาชี้แจงหรือนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัย
  • การพิจารณาอนุมัติโครงการไม่เกิน 4 สัปดาห์ เมื่อแบบเสนอโครงการวิจัยมีรูปแบบถูกต้อง

ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ


วัตถุประสงค์


วิธีดาเนินการวิจัย


แบบสอบถาม


สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

  • โครงการวิจัยจะมีที่ปรึกษาวิจัยหรือไม่มีก็ได้
  • แบบเสนอโครงการวิจัยไม่จำเป็นต้องเขียนครบ 3 บท แต่ให้เขียนตามแบบ วจ.1 และ วจ. 1.1
  • เมื่อผู้วิจัยได้รับความเห็นชอบให้ดาเนินการวิจัยจากคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยแล้วสถาบันวิจัยและพัฒนาจะมีบันทึกข้อความให้ผู้วิจัยแก้ไขแบบเสนอโครงการวิจัยและส่งกลับมา 2 ชุด เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบให้ท่านอธิการบดีลงนามอนุมัติให้ดำเนินการวิจัยได้ โดย
  1. ผู้วิจัยส่งฉบับแก้ไขสมบูรณ์กลับมายังสถาบันวิจัยและพัฒนา ภายใน 4 สัปดาห์หลังจากได้รับแจ้ง
  2. แบบเสนอโครงการวิจัยที่ส่งกลับมานั้นต้องมีชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัยเหมือนเดิม ถ้าชื่อเรื่องเดิม แต่เปลี่ยนวิธีดำเนินการวิจัยใหม่ คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยต้องพิจารณาใหม่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเหมือนเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งจะต้องนับ 1 ใหม่อีก
  • งบประมาณวิจัยขึ้นกับระเบียบวิธีวิจัย

ขณะนี้ใช้อัตราเงินเดือนปริญญาตรี 9,140 บาท ปริญญาโท 12,600 บาท
ผู้วิจัยสามารถตั้งงบประมาณค่าตอบแทนที่ปรึกษาวิจัย(ถ้ามี) ค่าตอบแทนผู้วิจัย ค่าตอบแทน ผู้ให้ข้อมูล ค่าประมวลผล ค่าลงรหัสข้อมูล ค่าแบบสอบถาม ค่าสืบค้นข้อมูล ค่าจัดทำเอกสาร ค่าที่พักและพาหนะ(ถ้ามี) ค่าสำรวจ ค่าเขียนแบบ ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ค่าถ่ายเอกสาร ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานการวิจัย ค่าวัสดุสำนักงาน ค่าวัสดุทดลอง ค่าจ้างวิเคราะห์ตัวอย่าง กรุณาดูรายละเอียดงบประมาณเพิ่มเติมจากประกาศมหาวิทยาลัยรามคำแหง เรื่องกาหนดหลักเกณฑ์ในการขอรับเงินอุดหนุนโครงการวิจัย พ.ศ. 2552

  • ผู้วิจัยยื่นแบบเสนอโครงการได้ตลอดปี ไม่มีกำหนดระยะเวลาในการส่งแบบเสนอโครงการ

ผู้วิจัยมีคำถามว่า แบบเสนอโครงการวิจัยต้องเขียนครบ 3 บทเต็มสมบูรณ์เหมือนกับรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์หรือไม่

answer_icon คำตอบ แบบเสนอโครงการวิจัยให้เขียนทุกหัวข้อแต่พอสังเขป เพื่อให้ทราบว่าจะดำเนินการวิจัยอะไร อย่างไร ที่ไหน

แบบเสนอโครงการวิจัยเขียนตามแบบ วจ. 1 และ วจ. 1.1 โดยในแต่ละหัวข้อให้เขียนโดยสังเขปเพื่อให้ทราบว่า ทำไมจึงศึกษาหัวข้อวิจัยนี้ มีการศึกษาในหัวข้อใกล้เคียงมาก่อนหรือไม่ ที่ไหน ได้ผลอย่างไรโดยเขียนพอสังเขป

  • วัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยนี้คืออะไรประมาณ 2 – 3 ข้อ
  • ขอบเขตการวิจัย ดำเนินการวิจัยที่ไหน ช่วงเวลาไหน กลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่างเป็นใคร
  • นิยามศัพท์เฉพาะที่เป็นศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยนี้ (ล้อตามวัตถุประสงค์)
  • วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีไหน ใช้สถิติอะไรในการวิเคราะห์ข้อมูล
  • แผนการดำเนินงานเขียนเป็นตารางจากเดือนที่ 1 – 12 (กรณีดาเนินการวิจัย 12 เดือน)
  • งบประมาณ (ดูรายละเอียดตามประกาศมหาวิทยาลัยรามคำแหง เรื่องกาหนดหลักเกณฑ์ในการขอรับเงินอุดหนุนโครงการวิจัย พ.ศ. 2552)
  • เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย – แบบสอบถาม ให้สอดคล้องกับ ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์

ผู้วิจัยมีคำถามว่า ส่งแบบเสนอโครงการวิจัยกี่ชุด
answer_icon ส่งครั้งแรก 1 ชุด เพื่อให้สถาบันวิจัยและพัฒนาตรวจสอบรูปแบบและงบประมาณ เมื่อถูกต้องแล้ว สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ส่ง 18 ชุด สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่ง 19 ชุด เพื่อให้คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยพิจารณาเห็นชอบต่อไป ขอความร่วมมือเพื่อให้นักวิจัยได้รับการพิจารณาอนุมัติทุนวิจัยรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงขอความร่วมมือจากนักวิจัยให้หลีกเลี่ยงปัญหาที่ทาให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาทุนวิจัย ปัญหาที่พบบ่อยและแก้ไข

1. การจัดทาข้อเสนอโครงการวิจัยต้องตามรูปแบบของ วจ. 1 และ วจ. 1.1 ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2. ข้อเสนอโครงการวิจัยมีคำสะกดผิดจานวนมาก
3. วิธีการศึกษาต้องตามระเบียบวิธีวิจัย เช่น การกาหนดขนาดตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่าง วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล การเลือกวิธีวิเคราะห์ทางสถิติ ฯลฯ
4. การอ้างอิงและบรรณานุกรมต้องตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกาหนด
5. การจัดทางบประมาณต้องตามระเบียบและเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกาหนด
6. การออกแบบเครื่องมือในการวิจัยไม่ชัดเจน ต้องสามารถตอบโจทย์วิจัยได้ และสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
7. การแก้ไขข้อเสนอโครงการวิจัยตามข้อเสนอของคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยฯล่าช้า และไม่ครบถ้วน
8. ข้อเสนอโครงการวิจัยจานวนมากเป็นงานการศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ ซึ่งควรเป็นหัวข้อวิจัยในเชิงพัฒนาองค์ความรู้ใหม่
9. นักวิจัยรุ่นใหม่ควรปรึกษาที่ปรึกษาโครงการวิจัย กำหนดประเด็นวิจัยให้ชัดเจนและมีความทันสมัย

แบบฟอร์มในการส่งข้อเสนอการวิจัย

แบบเสนอโครงการวิจัย วจ. 1 PDF
แบบเสนอโครงการวิจัย วจ. 1.1 PDF
แบบรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย วจ. 3 PDF
แบบการจัดพิมพ์รายงานการวิจัย วจ. 4 PDF
แบบส่งรายงานการวิจัย วจ. 6 PDF
แบบคําร้องขอขยายเวลาการวิจัย วจ. 8 PDF
แบบประเมินรายงานการวิจัยเพื่อพิมพ์เผยแพร่ วจ. 9 PDF
แบบคําร้องขอยุติการวิจัย วจ. 11 PDF
แบบรายงานแสดงค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนการวิจัย วจ. 15 PDF
แบบหนังสือรับรองการเป็นทปี่ปรึกษาโครงการวิจัย PDF

2. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน

นักวิจัยเป็นผู้นำเข้าข้อเสนอการวิจัยได้ด้วยตนเองภายในระระเวลาที่กำหนดและติดตามการประกาศทุนวิจัยดังกล่าวได้ที่

logo

3. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณ สกอ.

logo

4. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบภายนอก