การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

ระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และบุคคลทั่วไป

ผลการแข่งขัน

มัธยม ชนะเลิศ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกล เครื่องตรวจสอบคุณภาพแก้วเซรามิค โรงเรียนลําปางกัลยาณี
  รองชนะเลิศอันดับ 1 สาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีการแพทย์ การแปรรูปแป้งข้าวเจ้าจากข้าวก่ำเจ้า มช.107 ที่มีฤทธิ์การต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  รองชนะเลิศอันดับ 2 สิ่งแวดล้อมและพลังงาน การพัฒนาฟิลเตอร์กรองอากาศด้วยสารเร่งปฏิกิริยานาโนทองคำ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
อาชีวศึกษา ชนะเลิศ สาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีการแพทย์ ฟิล์มเคลือบแผลจากเพคตินและแกนหมึกกล้วย วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี
  รองชนะเลิศอันดับ 1 อาหาร เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ชุดเพาะเลี้ยงปูนิ่มสำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือนแบบช่วยเร่งลอกด้วยเปลือกหอย วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  รองชนะเลิศอันดับ 2 สิ่งแวดล้อมและพลังงาน เครื่องซีลผักสุญญากาศด้วยแรงดันน้ำ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
อุดมศึกษา ชนะเลิศ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกล Chumphon Chat Bot Application for Tourists สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
  รองชนะเลิศอันดับ 1 อาหาร เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ นวัตกรรมเส้นก๋วยเตี๋ยวไข่ขาวโปรตีนสูง คาร์โบไฮเดรตและไขมันต่ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  รองชนะเลิศอันดับ 2 สาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีการแพทย์ วัสดุตกแต่งบาดแผลที่มีความสามารถดูดซับสูงและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียสำหรับประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บุคคลทั่วไป ชนะเลิศ สาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีการแพทย์ ตู้ป้องกันรังสี Rayless radioprotective cabin กรมแพทย์ทหารเรือ
  รองชนะเลิศอันดับ 1  สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาและสังคม             บทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเห็น มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร/การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  
  รองชนะเลิศอันดับ 2 อาหาร เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ชุดตรวจสุกรในอาหาร ศูนยเครื่องมือวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

ชมเชย

1 การพัฒนาพลาสติกชีวภาพจากเจลาตินเสริมด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
2 เครื่องตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
3 Innovative Bin โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี
4 ฐานกล้องตามดาวแบบศูนย์สูตรสำหรับกล้อง DSLR/Mirrorless โรงเรียนสาธิต”พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิยาลัยบูรพา
5 เครื่องคัดแยกขนาดของมะนาว โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
6 รถฉีดปุ๋ยน้ำเพื่อการเกษตรพลังงานแสงอาทิตย์ควบคุมด้วยรีโมท วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
7 อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการสระผมผู้ที่นั่งเก้าอี้รถเข็น วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
8 นวัตกรรมสื่อการสอน Slot Account 2 เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ
9 เครื่องเลี้ยงกบอัตโนมัติ 4.0    โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี
10 เครื่องรีไซเคิลขยะโฟมแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
11 นวัตกรรมแผ่นพื้นผิวขยายสัญญาณรามานแบบยืดหยุ่นสำหรับตรวจวัดยาฆ่าแมลงที่ตกค้างบนเปลือกผลไม้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
12 ชุดทดสอบวินิจฉัยโรคติดเชื้อราเพนนิซิเลี่ยม มาแนฟิอายส์ (Penicilliosis marneffei) โดยวิธีการเลคตินอิมมูโนโครมาโทรกราฟฟี ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13 BagnosisDCN ชุดกล้องประมวลผลภาพแบคทีเรียผ่านกล้องจุลทรรศน์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14 การใช้ผ้าขาวม้าไทยพวนในการผลิตสื่อสร้างสรรค์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย อายุต่ำกว่า 3 ปี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้ง นครนายก
15 การตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงอย่างรวดเร็วโดยใช้ผงเปลือกมังคุดซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
16 Super Adsorbent Biosponge (SAB) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
17 สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์วิชาการบัญชี(ฉบับการตูนชาดก) มหาวิทยาลัยรังสิต
18 น้ำมันว่านสมุนไพร Thai herbal oil บุคคลทั่วไป
19 อัลบัมเพลง “๑๐ เรื่องเด่นวรรณคดีไทย สู่บทเพลงพรรณไม้ไทยในวรรณคดี” เพื่อประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
20 บ่อน้ำมันในมือ บริษัท ซินฮวดเฮง นวัตกรรม จำกัด

ดาวน์โหลดเอกสาร

หลักการและเหตุผล

            มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ได้ตระหนักดีถึงภาระของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมภายใต้บทบาทของความเป็นมหาวิทยาลัย เล็งเห็นว่า สังคมในยุคปัจจุบันและในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้า กำลังก้าวเข้าสู่สังคมที่เป็นโลกแห่งดิจิตอล การพัฒนาประเทศมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวนำพาเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นรากเหง้าของความเป็นไทยอยู่ในวิถีชีวิต ด้วยบริบทดังกล่าว ในการประชุมวิชาการและวิจัยระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประจำปี 2562 (Ramkhamhaeng University National and International Research Conference 2019) ภายใต้หัวข้อ “การสร้างสรรค์ในสังคมยุคใหม่กับการศึกษา (Modernization and Education)” ระหว่างวันที่     6 – 8 สิงหาคม 2562 ณ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงจัดให้มีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และบุคคลทั่วไป ขึ้นในงานนี้ เพื่อให้เป็นเวทีการนำเสนอความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ของการประยุกต์ความรู้เพื่อพัฒนาสู่สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม อันจะเป็นการชักนำให้เกิดการ     ต่อยอดทางเทคโนโลยี และอาจพัฒนาไปสู่การต่อยอดในเชิงพาณิชย์ในอนาคต

บทสรุปของกลุ่มงานและประเภทของการส่งงานเข้าประกวด

การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มงาน ตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มที่ 1  อาหาร เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ

            สิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ หรือแนวคิดที่ผ่านการปฏิบัติจริงด้านวิทยาศาสตร์อาหาร การเกษตรทุกสาขา  และเทคโนโลยีชีวภาพ ที่สามารถพัฒนาหรือต่อยอดแล้วมีผลให้เพิ่มความสามารถในการผลิต คุณภาพการผลิต เน้นการใช้ประโยชน์ได้จริง และสามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้

กลุ่มที่ 2  สาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีการแพทย์

            เป็นการออกแบบพัฒนาและสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกทางการแพทย์ โดยส่งเสริมและมุ่งหมายในการป้องกันการเกิดโรค บำบัดโรค และดูแลรักษา การตรวจสอบและวินิจฉัยโรค เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้ป่วยและประชาชน เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ เทคโนโลยีการแพทย์ ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural Products)  สมุนไพร เวชสำอางค์ เทคโนโลยีสุขภาพ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มที่ 3  กลุ่มปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกล

             ครอบคลุมงานประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาการหุ่นยนต์ วิศวกรรมหุ่นยนต์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสมองกลมาประยุกต์ใช้งาน

กลุ่มที่ 4  กลุ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาและสังคม

            ผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับการศึกษาและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนในสังคม การส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต อาทิ สื่อการเรียนการสอน สื่อทางการศึกษา สื่อการเรียนรู้ เกมส์ กิจกรรมสันทนาการ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มที่ 5  กลุ่มสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

            นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บำบัดมลพิษทางอากาศ บำบัดน้ำ ขยะ กากของเสีย ลดมลพิษทางเสียง วัสดุรีไซเคิล พลาสติกย่อยสลายได้ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม พลังงานหมุนเวียน พลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม คลื่นทะเล การลดใช้พลังงานที่สร้างมลพิษ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

  • มัธยมศึกษา
  • อาชีวศึกษา
  • อุดมศึกษา
  • บุคคลทั่วไป

รางวัลแต่ละระดับการประกวด

          รางวัลที่ 1  เงิน 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและโล่รางวัล

          รางวัลที่ 2  เงิน 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและโล่รางวัล

          รางวัลที่ 3  เงิน 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและโล่รางวัล

          ทุกผลงานที่ส่งเข้าประกวดได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมประกวด

หลักเกณฑ์การพิจารณาตัดสินการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

  1. การออกแบบ ควรมีรูปลักษณะของการออกแบบชิ้นงาน หรือแนวทางที่ไม่ซ้ำซ้อนกับงานอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ มีความโดดเด่นน่าสนใจ แปลกใหม่ สวยงาม
  2. ความถูกต้องทางวิชาการ เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างจากหลักการที่ถูกต้องทางวิชาการ มีแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องอ้างอิง หรือเป็นสิ่งคิดค้นใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้
  3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากความริเริ่มสร้างสรรค์ หรือพัฒนารูปแบบวิธีการต่อยอดที่ดีกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัดเจน เป็นแนวคิดที่สร้างความคิดเชิงบวกสร้างสรรค์สังคม
  4. การต่อยอดเชิงพาณิชย์ ผลงานและสิ่งประดิษฐ์ สามารถนำไปคิดค้นเพิ่มเติมในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ หรือสามารถพัฒนาในเชิงอุตสาหรรมได้ในอนาคต
  5. การนำไปใช้ประโยชน์ ผลงานและสิ่งประดิษฐ์ สามารถหรือมีแนวโน้มที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม ในการเพิ่มศักยภาพให้กับการพัฒนาประเทศตามแนวทางของผลงานและสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ

“คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นอันสิ้นสุด”           

***หมายเหตุ ผลงานที่ส่งประกวดจะต้องไม่ละเมิดทรัพสินทางปัญญาของผู้อื่น และต้องไม่เป็นผลงานที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฏหมาย      

การสมัครและลงทะเบียนเข้าร่วมการประกวด

  1. ค่าลงทะเบียน ผลงานละ 1,000 บาท
  2. Download ใบสมัครและลงทะเบียนได้ที่ http://www.rd.ru.ac.th/?page_id=2940
  3. ลงทะเบียนสมัครพร้อมส่งชื่อผลงาน ตั้งแต่บัดนี้ – 25 กรกฎาคม 2562 (**ขยายโอกาส) หรือจนกว่าผลงานจะเต็ม 150 ผลงาน
  4. ตรวจสอบรายชื่อผลงานและสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมประกวดได้ที่ http://www.rd.ru.ac.th/?page_id=2940

***หมายเหตุ หากหน่วยงานใดประสงค์ขอหนังสือเชิญเข้าร่วมอย่างเป็นทางการ โปรดติดต่อกลับมายัง ผู้ประสานงานได้ที่ โทรศัพท์ 0 2310 8694 หรือส่งรายละเอียด ชื่อหน่วยงาน และตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด มายังอีเมล์ runirc2019@gmail.com

………………………………………………………………………………………………………………….

ขั้นตอนการส่งผลงาน

1.ดาวน์โหลดและกรอกใบสมัครส่งผลงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

2.ลงทะเบียนพร้อมส่งใบสมัคร

*** จำนวนผลงานที่เปิดรับ 150 /150 ***

***แจ้งเตือน ขออภัยค่ะ ระบบจะปิดรับการส่งผลงานแล้วค่ะ

3.รอผลการพิจารณาการเข้าร่วมงาน

***ท่านสามารถเช็คผลการส่งผลงานได้ที่อีเมล์ท่านส่งผลงาน***

  • เจ้าหน้าที่จะส่งอีเมล์ผลการพิจารณาผลงานผ่านอีเมล์
  • โปรดชำระเงินภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2562 
  • กรุณาเก็บหลักฐานการชำระเงินในการยืนยันเข้าร่วมงานด้วย

***แจ้งเตือน หากผลงานที่ส่งใบสมัครยังไม่ได้รับผลตอบรับทางอีเมล์ให้ติดต่อที่ runirc2019@gmail.com หรือติดต่อผู้ประสานงานโดยตรง

4.ชำระเงินค่าสมัคร

  • ผลงานที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกแล้วเท่านั้น
  • ต้องชำระเงินภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2562
  • รายละเอียดการชำระเงินจะส่งไปยังอีเมล์ติดต่อที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้อีกครั้ง
  • ต้องทำรายการการชำระเงินผ่านหน้าเคาเตอร์ธนาคารหรือ อินเตอร์เน็ตแบ็งกิ้งค์เท่านั้น
  • กรุณาเก็บใบเสร็จการโอนเงินเพื่อใว้เป็นหลักฐานการชำระเงิน

***โปรดระวัง มิจฉาชีพ เพื่อความปลอดภัยในการดำเนินการทางการเงินใดๆ โปรดติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนา โทร 0 2310 8694 เบอร์เดียวเท่านั้น

5.ส่งหลักฐานการชำระเงิน

6.ส่งยืนยันข้อมูลและสรุปผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม (*ข้อมูลสำคัญ)

………………………………………………………………………………………………………………….

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ผู้ประสานงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

โทรศัพท์ : 0 2310 8694

E-mail   : runirc2019@gmail.com

Line ID : runirc2019

…………………………………………………………………

คุณจิตรภานุ อินทวงศ์ (เคน)

โทรศัพท์ : 09 5929 6447

…………………………………………………………………

คุณวีระศักดิ์ มะประสิทธิ์ (วี)

โทรศัพท์ : 08 7000 6759

…………………………………………………………………

คุณจิรัฐิติกาล งามขำ (เฟิร์น)

โทรศัพท์ : 08 9804 6871

*** 
หากผู้ลงทะเบียนไม่สามารถเข้าร่วมงานประชุมและกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าว และได้ชำระเงินแล้ว ทางผู้จัดงานประชุมฯจะไม่คืนเงินค่าลงทะเบียนในทุกกรณี