13 พฤษภาคม 2568
กลับมาเตรียมพร้อมให้ตัวเอง…. ก่อนจะก้าวต่อ
สถาบันวิจัยและพัฒนา (สวพ.) ร่วมกับสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน (สวสร.)
จัดให้มีโครงการพัฒนาบุคลากร
เรื่อง “การสร้างความเข้าใจงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน”
โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์เดมีย์ ระเบียบโลก รองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร สร้างแรงขับเคลื่อน บอกเล่าเรื่องราวของแรงสะท้อนจากคนในชุมชน
ที่เราได้มีโอกาสเริ่มต้นเข้าไปร่วมสร้างข้อเสนอการวิจัยที่มาจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง
ถ่ายทอดส่งต่อให้กับบุคลากรของทั้งสองสถาบันฯ
ซึ่งในวันนี้มีตัวแทน “หน่วยกล้าตาย” รุ่นแรก คือ อาจารย์ ดร. เกสรี พงษ์สังข์ ประธานสภาคณาจารย์
และผู้ช่วยศาสตราจาร์ ดร. ณีรนุช ควรเชิดชู
รวมถึงอาจารย์ที่จะมา “รับไม้ต่อ” รุ่นถัดมา ที่จะเข้ามาเสริมกำลังสร้างสรรค์งานวิจัย
ของชุมชน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ ชีวโศภิษฐ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปาณิสรา เผือกแห้ว
อาจารย์สุรเวท โตเจริญ
เป็นการเตรียมปรับตัว และสร้างแรงหนุนให้กับคณาจารย์ที่เตรียมพร้อมจะทำงานร่วมกับคนในชุมชน ด้วยความตั้งใจ
ของฝ่ายสนับสนุนอย่างเต็มกำลังความสามารถ…
ขอบพระคุณ..
ท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์
รองศาสตราจารย์นพคุณ คุณาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน
รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษดา ตั้งชัยศักดิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
รองศาสตราจารย์ ดร. ณรัฐ วัฒนพานิช คณบดีคณะศึกษาศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร. จักรี ไชยพินิจ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
อาจารย์ ดร. ก่อพงศ์ นามวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการจังหวัดศรีสะเกษ
ที่มาให้กำลังใจถึง อาคารสุโขทัย ชั้น 12 😄
และสุดท้าย
รองศาสตราจารย์ ดร. มณี อัชวรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน
ที่เป็น “แม่งาน” ในการจัดงานครั้งนี้
ที่สำคัญคือหัวหน้าสำนักงานเลขาฯ และเจ้าหน้าที่ทุก ๆ ท่าน ที่ร่วมแรงร่วมใจกันจัดสถานที่และเตรียมงานทุกอย่าง
ในนามของ สวพ. และ สวสร. หวังลึก ๆ ว่า นอกจากคุณค่าในเชิงวิชาการ รวมถึงประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะเกิดโดยตรง
ต่อสังคมและชุมชนแล้วนั้น สิ่งที่จะเป็นผลพลอยได้ที่สำคัญในสังคมรามคำแหงของเรา
คือ “เพื่อน” มิตรภาพ และความสามัคคี…
แด่สังคมที่ดีงาม…. 😊
#มหาวิทยาลัยรามคําแหง #สถาบันวิจัยและพัฒนา #สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน #มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน












